Translate

ภูเก็ตแท็กซี่,วัดต่างๆจังหวัดภูเก็ต

วัดพระทอง (วัดพระผุด)
วัดพระทอง ตั้งอยู่ที่ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สิ่งที่สำคัญที่สุดของวัดนี้คือ พระทองหรือพระผุด ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารมีลักษณะ เป็นพระครึ่งองค์ ซึ่งประวัติความเป็นมาของวัดพระทอง และหลวงพ่อพระทอง หรือพระผุด
  ประวัติและความเป็นมา
เดิมที่สถานที่ที่ตั้งในปัจจุบันเป็นทุ่งกว้าง มีนา มีคลอง มีหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ชาวบ้านเรียกว่าทุ่งนานี้ว่า ทุ่งนาใน วันหนึ่งมีเด็กชายนำกระบือไปเลี้ยงที่ทุ่งนา ได้นำเชือกล่ามกระบือไปผูกไว้กับตอไม้ริมคลองที่มีโคลนตมติดอยู่ แล้วเด็กชายคนนั้นก็กลับบ้านเกิดอาการเป็นลมตายและกระบือที่ล่ามไว้กับตอไม้ก็ตายด้วยกัน ต่อมาพ่อของเด็กชายคนนั้นก็ฝันว่าการที่เด็กและกระบือตาย เพราะเด็กนำเชือกล่ามกระบือไปผูกไว้กับเกศพระพุทธรูป พ่อของเด็กชายคนนั้นก็ชวนเพื่อนบ้านไปขัดล้างตอไม้ริมคลองนั้น จึงเห็นเป็นลักษณะเหมือนเกศพระพุทธรูปและเป็นทองคำ ชาวบ้านต่างพากันมาบูชาสักการะกันมากมาย เมื่อเจ้าเมืองทราบก็สั่งให้ทำการขุดพระพุทธรูปขึ้นมา ประดิษฐานไว้บูชา แต่ไม่สามารถขุดขึ้นมาได้เพราะบางคน ถูกตัวต่อ ตัวแตนอาละวาดเป็นพิษถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองจึงสั่งให้ทำที่มุงที่บังเป็นสถานที่กราบไหว้เรื่อยมา ชาวบ้านจึงเรียกว่ากันพระผุด เพราะเป็นพระพุทธรูปที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน เพียงพระเกศมาลา สูงประมาณ 1 ศอก ส่วนคนจีนเรียกว่า พระผุดว่า ภูปุ๊ค (พู่ฮุก) เพราะชาวจีนเชื่อกันว่าเป็นพระผุดมา จากเมืองจีน เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน คนจีนในภูเก็ต พังงา ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง และกระบี่ จะพากันมานมัสการพระผุด เป็นประจำจนถึงทุกวันนี้

ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต สายด่วนโทรหาเราตอนนี้ คลิ๊กที่นี่

 วัดท่าเรือ
วัดท่าเรือ เป็นวัดเก่าแก่บนถนนเทพกระษัตรี สร้างขึ้นเมื่อไรไม่มีใครจำได้ และไม่มีใครค้นพบหลักฐานมาก่อน แต่ผู้สูงอายุเล่าตรงกันว่า วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือสมัยสงครามพม่า มีพ่อท่านหลังเสือเป็นเจ้าอาวาส เมื่อสิ้นบุญพ่อท่านหลังเสือวัดนี้ก็ร้าง และได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ ชื่อว่า “วัดใน” และวัดที่ร้าง นั้นเรียกว่า “วัดนอก” วัดที่สร้างใหม่นี้มี “พระแป๊ะ” เป็นเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ “พระแดง” ท่านเป็นชาวไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมื่อ อุปสมบทที่ไชยาได้มาอยู่ที่จังหวัดกระบี่ก่อนแล้วจึงมาอยู่วัดใน ต่อมาก็มี “พระยาน” เป็นเจ้าอธิการ วัดท่าเรือ ก็มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนอก พระยานมีความรู้ทางแพทย์แผนโบราณ ได้รักษาโรคภัยไข้ เจ็บให้แก่ชาวบ้าน ทำให้พุทธศาสนิกชนศรัทธาทำบุญเข้าวัด วัดก็เจริญขึ้นท่านพระยานไม่เพียง แต่รักษาโรคให้กับคนภูเก็ตเท่านั้น แต่ยังเดินทางไปรักษาผู้คนถึงจังหวัดอีโปในแหลมมลายูและ ที่ปีนังด้วย เมื่อพระยานลาสิกขาไป พระแดงจึงย้ายมาอยู่วัดนอก ด้วยวัดนอกเจริญกว่าและรวมเป็นวัดเดียวตั้งแต่นั้นมา เจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ”พระเจื้อม” พระผู้สร้างศาลาโรงธรรม และเป็นผู้ปฎิสังขรณ์โบสถ์ เมื่อพระเจื้อมลาสิกขาบทชาว บ้านจึงได้นิมนต์ “พระหนู อินทวโร” มาเป็นเจ้า อาวาส เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2475 – 2523 องค์ต่อมาคือ ”พระครูอุคโฆษ ธรรมคุณ” (หลวงพ่อสมร) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 - 2530 และ “พระครูสุนทร ปริยัติธาดา” (หลวงพ่อสมใจ) เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
    ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของสื่อข้อมูลความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต
  ประวัติและความเป็นมา
วัดท่าเรือมีอาณาบริเวณทั้งหมด 50 ไร่ ตั้งอยู่ริม คลองน้ำไหล สมัยก่อนเป็นท่าเรือมีเรือใบสามหลัก เข้ามาจอด ฝั่งตรงข้ามคือบ้านเจ้าเมืองเก่า เมื่อ 300 ปีมาแล้วเมื่อคราวยังเป็นเมืองถลางอยู่ เนื้ออที่ประมาณ 30 ไร่ หลวงพ่อใช้ประโยชน์ด้วยการ ปลูกป่าถวายในหลวง  หลวงพ่อสมใจซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านกล่าวว่าวัดท่าเรือนี้มีวัตรปฎิบัติตามอย่าง ท่านพุทธทาส เน้นการเผยแผ่ธรรมะแก่ชาวบ้าน มากกว่าการให้ญาติโยมมาทำบุญทำทาน จึงไม่เน้นที่จะสร้างถาวรวัตถุอะไร ที่วัดนี้ไม่มีตู้ รับบริจาค ไม่เรี่ยไร ไม่บอกบุญ แล้วแต่ผู้มีจิต ศรัทธาจะบริจาค หากบริจาคก็จะนำไปเป็นทุน จัดอบรมศิลธรรมให้แก่นักเรียนที่โรงเรียนจัดมาเป็นประจำ ที่วัดจัดสร้างอาคารที่พักสำหรับ เข้าค่ายอบรม   จุคนได้ถึง 120 คน และแยกชาย-หญิง และบางครั้งก็จัดอบรมครูสอนศิลธรรมด้วย ท่านเห็นว่าปัจจุบันบ้านเมืองกำลังเกิดปัญหา สังคม เพราะขาดบุคลากรอันเป็นตัวอย่างที่ดี แก่เยาวชน ภายในวัดร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ เมื่อใบร่วงหล่นลงจะกวาดไปสุมไว้ที่โคนต้นไม้ เพราะใบไม้จะช่วยคลุมดินทำให้ดินชุ่มชื้น มีประโยชน์มากกว่าโทษ

วัดท่าเรือจึงมีคุณสมบัติพร้อมที่จะนำพา พระพุทธศาสนิกชนข้ามสายน้ำแห่งโลกิยะ สู่ฝั่งโลกุตรธรรมตามแนวทางขององค์พระศาสดาพุทธเจ้า ประดุจลงเรือลำเดียวกัน

ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต สายด่วนโทรหาเราตอนนี้ คลิ๊กที่นี่

 วัดเทพกระษัตรี
เมื่อ พ.ศ. 2328 ซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งราชจักรีวงศ์ ประเทศไทยยังติดพันทำศึกสงครามกับพม่าอยู่ กองทัพพม่ายกมาตีไทย รวมทั้งหัวเมืองต่างๆ ทางใต้ด้วย ทำให้เกิดวีรกรรมของสองวีรสตรีขึ้นคือ ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ซึ่งประวัติของท่าน ได้เกี่ยวข้องกับการสร้างวัดเทพกระษัตรี ดังจะกล่าวต่อไป
  ประวัติและความเป็นมา
 คุณหญิงจันและคุณหญิงมุก สองพี่น้อง อาศัยอยู่ ณ บ้านดอน อันเป็นบ้านเกิดของท่าน (เหตุที่เรียกว่าบ้านดอนเนื่องจากว่าสถานที่แห่งนี้มีลักษณะคล้ายเกาะ เพราะมีน้ำล้อมรอบและเป็นที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึง) ในขณะนั้นพระยาถลางได้ถึงแก่กรรมลง ทางเมืองหลวง ได้แต่งตั้งข้าหลวงให้ลงมาตรวจสอบเงินภาษีของเมืองถลาง ปรากฏว่าเงินขาดหายเป็นจำนวนมาก คุณหญิงจันจึงถูกข้าหลวงจับตัวไป พอดีขณะนั้นทัพพม่าได้ยกทัพมาตั้งค่ายอยู่ ณ เมืองตะกั่วทุ่ง ที่ตำบลโคกกลอย ข้าหลวงได้ตั้งค่ายต่อสู้ พม่าที่บ้านท่าฉัตรไชย ได้ควบคุมตัวคุณหญิงจันไปด้วย ในไม่ช้าการรบครั้งใหญ่ก็อุบัติขึ้น ปรากฏว่าแม่ทัพไทย (ข้าหลวง) เสียชีวิตในที่รบ คุณหญิงจันจึงเป็นอิสระและหลบหนีพม่า มาอยู่ที่บ้านเดิม คือ บ้านดอน ได้รวบรวมชายฉกรรจ์ตลอด จนผู้หญิงตั้งค่ายต่อสู้ที่บ้านค่าย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของท่าน ประมาณสองกิโลเมตร การรบครั้งนี้ปรากฏว่า ท่านสามารถรักษาเมืองถลางไว้ได้ สามารถขับไล่พวกพม่าแตกกระจายไป ข่าวที่ท่านมีชัยชนะ ต่อพม่าได้ทราบถึง "กรมพระราชวังบวร” จึงยกกองทัพมาปราบพวกพม่าทางหัวเมืองฝ่ายใต้ ได้ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองนครศรีธรรมราช กรมพระราชวังบวรได้มีใบบอกไปยังเมืองหลวงเกี่ยวกับวีรกรรม ของคุณหญิงจันและคุณหญิงมุก จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้คุณหญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณหญิงมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ส่วนบ้านเดิม (บ้านดอน) ของท้าวเทพกระษัตรี ก็ถูกพวกพม่าราวีเช่นเดียวกัน ขณะนั้นที่บ้านดอนมีสำนักสงฆ์อยู่แห่งหนึ่งมี พระฝา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อฝา (ปัจจุบันได้เรียนเพี้ยนกันมาเป็น “หลวงพ่อเจ้าฟ้า”) หลวงพ่อฝาเป็นคนต่างจังหวัด ถือสำนักสงฆ์ที่แห่งนี้จำพรรษาอยู่ หลวงพ่อฝาเป็นที่เคารพ นับถือของชาวบ้านดอนตลอดจนหมู่บ้านอื่นๆ กิตติศัพท์เป็นที่กล่าวขานในด้านเวทมนต์คาถาและอยู่ยงคงกระพันมาก พวกพม่าจะบุกจู่โจมเพื่อเอาบ้านท้าวเทพกระษัตรีเป็นที่รวมพลและตั้งค่าย แต่เส้นทางที่พม่าจะบุกจู่โจมบ้านท้าวเทพกระษัตรีนั้นจะต้องผ่าน สำนักสงฆ์ของหลวงพ่อฝาก่อน ดังนั้นจะต้องมีการสู้กันระหว่างหลวงพ่อฝาซึ่งเป็นผู้นำชาวบ้าน กับพวกพม่า หัวหน้าพม่าจึงได้มีการตกลงท้าทายกับหลวงพ่อฝา ว่าถ้าการต่อสู้ระหว่างหัวหน้าพม่ากับหลวงพ่อฝาที่จะเกิดขึ้นหากพม่าเป็น ฝ่ายแพ้จะไม่ทำอันตรายต่อสำนักสงฆ์ของท่านตลอดชาวบ้านด้วย แต่ถ้าพม่าเป็นฝ่ายชนะก็จะต้องยอมให้พม่าไปตั้งค่ายในบ้านท้าว เทพกระษัตรีได้ เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเตรียมการจัดการต่อสู้กัน ก่อนจะทำการต่อสู้กันหัวหน้าพม่าได้สืบทราบมาว่า หลวงพ่อฝาเป็นผู้มีเวทมนต์คาถาอยู่ยงคงกระพัน ดังนั้นหัวหน้าพม่าจึงคิดจะแก้เคล็ดเพื่อที่จะเอาชนะหลวงพ่อฝาให้ได้ เมื่อถึงวันที่จะทำการต่อสู้กัน หัวหน้าพม่าได้เอาข้าวไปกำมือหนึ่งถามหลวงพ่อว่า "นี่คืออะไร” หลวงพ่อฝาตอบโดยไม่เฉลียวใจว่า “ข้าว(เข้า)” ทันใดนั้นหัวหน้าพม่าก็ชักดาบพันหลวงพ่อฝาขาดสะพายแล่ง หลวงพ่อฝาได้เอามือรับร่างของท่านไว้ก่อนจะหล่นถึงพื้นมาต่อเ ข้ากับรอยเดิมแล้วใช้มือรูปตามรอยแผล ร่างของท่านก็ต่อได้เหมือนเดิม เมื่อพม่าเห็นเช่นนั้นก็ตกใจยอมแพ้ถอยทัพกลับ ไม่ทำอันตราย ตามที่สัญญาไว้ครั้นเรื่องอภินิหารของหลวงพ่อฝาแพร่สะพัดออกไปปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชมยินดี เคารพนับถือของชาวถลาง ทั่วไปเป็นอย่างมากหลังจากท้าวเทพกระษัตรีกวาดล้างศัตรูอันเป็นเสี้ยนหนาม ของเมืองถลางหมดสิ้นแล้วเกิดศรัทธาที่จะสร้างวัดเพื่อเป็นการฉลองชัยชนะ ที่ท่านมีต่อพม่าซึ่งเป็นประเพณีในสมัยโบราณ จึงปรึกษากับกรรมการเมืองถลาง ได้ประชุมลงมติให้สร้างวัด ณ สำนักหลวงพ่อฝา ที่ท่านร่วมมือกวาดล้างศัตรูของเมืองถลาง ให้ชื่อวัดนี้ว่า วัดดอน ให้หลวงพ่อฝาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้เป็นรูปแรกหลังจากท่านมรณะภาพแล้ว บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลาย ได้ปั้นรูปของท่านไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งยังคงมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดสนใจสืบหาประวัติวัดนี้ว่าใครเป็นผู้สร้าง สร้างเพื่ออะไร มีความเป็นมาอย่างไร เมื่อสืบประวัติแล้ว จึงประชุมกรรมการจังหวัดลงมติให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ เป็นวัดเทพกระษัตรี ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท้าวเทพกระษัตรีผู้สร้างวัดนี้ วัดนี้อยู่ห่างจากบ้านเดิมของท้าวเทพกระษัตรีประมาณ 15 เส้นเป็นและเป็นวัดแรกที่สร้างขึ้นในจังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต สายด่วนโทรหาเราตอนนี้ คลิ๊กที่นี่

 วัดมงคลนิมิตร
ปัจจุบันเป็นวัดหลวงประจำจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

   ประวัติและความเป็นมา
วัดมงคลนิมิตร ปัจจุบันมีพระราชวิสุทธิมุณีเจ้าคณะจังหวัดเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตรเป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองภูเก็ตและคงจะเป็นวัดหลวงแต่ครั้งตั้ง เมืองภูเก็ตหลังจากเมืองถลางถูกพม่าทำลายลง คงจะราวรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาเพราะก่อนจากนี้เมือง ภูเก็ตอยู่แถววัดเก็ตโฮ่ วัดมงคลนิมิตร ใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎแน่ชัดไม่มีหลักฐานแต่เจ้าเมืองภูเก็ตได้ปฏิสังขรณ์ทะนุบำรุงนี้ตลอดมา แต่เดิมธรณีสงฆ์ของวัดมงคลนิมิตรกว้างขวางมาก คือ ทางตะวันตกก่อนที่ถนนเยาวราชยังไม่ผ่านที่ของวัดไปถึงโรงเรียนปลูกปัญญา วัดคุณชี ทางตะวันออกจดถนนเทพกษัตรีย์ บนเขารังที่ดงตาลโตนดก็เป็นที่ของวัด ปัจจุบันธรณีสงฆ์จึงมีน้อยลง

ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต สายด่วนโทรหาเราตอนนี้ คลิ๊กที่นี่

ประวัติวัดมงคลนิมิตร

เล่ากันว่าพระยารัษฎาฯ จะตัดถนนผ่านวัดโดยตัดจากซอยรมณีย์ออกถนนทุ่งคาแต่ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) ท่านไม่ยอมเพราะจะต้องตัดตรงผ่านโบสถ์ด้วยถ้าตัดถนนผ่านวัดคราวนั้นธรณีสงฆ์อาจแคบกว่าที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ แต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปวัดมงคลนิมิตร ท่านพระครูวัดฉลองเป็นเจ้าคณะจังหวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดมางคลนิมิตรด้วย ทรงเห็นโบสถ์ชำรุดทรุดโทรมไปมากแล้วจึงโปรดเกล้าให้พระยาศรีสรราช จัดการซ่อมแซมโบสถ์ ในคราวกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของมณฑลภูเก็ต พระราชพิธีได้จัดที่วัดนี้ จากรายงานของหลวงวรากรราชกิจ ปลัดกรมสรรพากรนอกกระทรวงมหาดไทยซึ่งตามประกาศตราตั้งให้หลวงวรากร นำน้ำพระพิพัฒน์จากกรุงเทพฯ มายังมณฑลภูเก็ต โดยลงเรือกลไฟ ชื่อตราด จากกรุงเทพฯ ถึงสงขลาแล้วย้อนมาพัทลุง ถึงเมืองตรังมีหม่อมเจ้าประดิพัท เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็ตกับพระสกลสถานพิทักษ์ผู้ว่าราชการเมืองตรังได้กระทำการถือน้ำที่วัดกันตังครั้นถึงวันที่ 9 พฤศจิการยน พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าประดิพัทธ เกษมศรี ปลัดมณฑลภูเก็ตกับพระสกลสถานพิทักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองตรังได้กระทำการถือน้ำที่วัดกันตังครั้นถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าประดิพัทธ์ ได้จัดตั้งพิธีถือน้ำ ณ วัดมงคลนิมิตร ข้าราชการผู้ใหญ่น้อยฝ่ายทหารและพลเรือนมาประชุมพร้อมกันโดยกระทำสัตย์สาบานต่อหน้าพระพุทธปฏิมากร และพระบรมรูปพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วได้ดื่มน้ำโดยทั่วกัน ในครั้งนี้พ่อค้าจีนได้ตัดเปียด้วย

วัดมงคลนิมิตรมีพระพุทธรูปทององค์หนึ่ง กล่าวว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยเดียวกันกับ พระพุทธรูปทองวัดไตรมิตร กรุงเทพมหานครฯ เดิมอยู่ในเจดีย์หน้าโบสถ์ รวมกับพระพุทธรูปแบบพม่าครั้งแรก ลงรักสีดำ ได้ขัดกันมาหลายครั้ง ต่อมาเห็นรอยด้านหน้าร้าวจึงได้ขัดทั้งองค์โดยท่านเจ้าคุณรูปปัจจุบันได้เรียกช่างมาดู ปรากฎว่าเป็นทองดังกล่าวมาแล้ว สำหรับเจ้าคณะจังหวัดหลังจากท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุรี (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง) แล้วรูปถัดมาคือ พระวิสุทธิวงศาจารย์ (ไข่) พระราชวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) และท่านเจ้าคุณ รูปปัจจุบัน คือ พระราชวิสุทธิมุนี (ริ่น) เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต สายด่วนโทรหาเราตอนนี้ คลิ๊กที่นี่

 วัดพระนางสร้าง

วัดพระนางสร้างเป็นวัดประจำอำเภอถลาง ตั้งอยู่เลขที่ 184 บ้านตะเคียน หมู่ที่ 1 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สังกัดคณะสงฆ์นิกายมหานิกาย มีเนื้อที่ 19 ไร่ 1 งาน 79 ตารางวา สค.1 เลขที่ 149 เป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์ 84 ไร่ 1 งาน 21 ตารางวา มีอุโบสถ 2 หลัง

อุโบสถหลังเก่า

กว้าง 9.50 เมตร ยาว 17.50 เมตร บูรณะมาแล้วหลายครั้ง ภายในโบสถ์มีพระประธาน ปางสมาธิจำนวน 3 องค์ ซึ่งจากด้านหลังของพระพุทธรูปทั้งสามองค์มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาว 3.50 เมตร เล่ากันว่ามีพระพุทธรูปทองคำอยู่ภายในองค์พระ แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ ปัจจุบันโบสถ์หลังเก่านี้กรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว

อุโบสถหลังใหม่

กว้าง 16 เมตร ยาว 24 เมตร วัดพระนางสร้าง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2301 เกี่ยวข้องกับตำนานนางเลือดขาว เมืองนครศรีธรรมราช ที่เล่าสืบต่อกันมาว่านางเลือดขาวเป็นภรรยา เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ถูกเสนาบดีกลั่นแกล้งใส่ร้าย กล่าวหาว่าเป็นชู้กับมหาดเล็กโทษจะต้องประหารชีวิต แต่พระนางได้ขอผ่อนผันให้ไปนมัสการ พระบรมธาตุที่ศรีลังกาก่อน หลังจากนั้นจะกลับมารับโทษประหารชีวิต ขากลับจากนมัสการพระบรมธาตุพระนางได้แวะที่เกาะถลาง และสร้างวัด ขึ้นไว้แล้วเดินทางกลับไปรับโทษประหารชีวิต โลหิต ของประนางที่ไหลออกมามีสีขาวเป็นที่อัศจรรย์ จึงพากันเรียกพระนางว่า พระนาง เลือดขาว ส่วนวัดที่พระนางสร้างไว้เมื่อแวะที่เกาะถลางเรียกกันว่า วัดพระนางสร้าง แต่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆ ว่า วัดนางสร้าง

 ข้อมูล : เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่งดงามยากจะบรรยาย และถือเป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะภูเก็ต เลยก็ว่าได้ องค์พระประดับด้วยหินอ่อนหยกขาว จากประเทศพม่า โดยจะมองเห็นได้เด่นชัดมาก เนื่องจากตั้งอยู่บนยอดเขา เมื่อมองจากด่านล่างแล้ว จะเห็นความสง่างาม จนยากจะบรรยายจริง ๆ และเมื่อนักท่องเที่ยวขึ้นไปกราบไหว้ สักการะ นอกจากจะได้บุญ และจิตใจสงบแล้ว ยังสามารถสัมผัส กับ ทัศนียภาพที่งดงาม ของจังหวัดภูเก็ต ได้อย่างชัดเจน และสวยงามเป็นอย่างมากอีกด้วย

การเดินทาง : จากวัดฉลองมุ่งหน้า ห้าแยกฉลอง ให้เลี้ยวขวาก่อนถึงไฟแดง **สังเกตุจะมีป้ายบอกทางหน้าซอย** พอเลี้ยวเข้าซอย ก็ตรงขึ้นเขาขับไปตามทางก็จะถึงจุดจอดรถที่ทางวัดเตรียมไว้ให้ ขับรถด้วยความระมัด ระวังนะครับ

วัน-เวลา : สามารถขึ้นไปกราบไหว้-สักการะ ได้ทุกวันครับ ตั้งแต่เวลา 8.00 - 19.00 น.

     วัดไชยธาราราม เดิมชื่อวัดฉลอง ตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไป จากเรื่องราว ความศักดิ์สิทธิ์และคุณความดี ของหลวงพ่อแช่ม ปัจจุบันเป็นสถานที่ สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสมาภูเก็ต จึงควร แวะมาทำบุญที่วัดเพื่อเป็น ศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

ภูเก็ตแท็กซี่กรุ๊ป ขอเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำเมื่อท่านมาเยือนภูเก็ต สายด่วนโทรหาเราตอนนี้ คลิ๊กที่นี่